fbpx
AshtonAsoke Gal2

แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ในคดีแอชตัน อโศก

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาคดีที่ทางสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับพวกรวม 16 คน ฟ้องร้องผู้อำนวยการเขตวัฒนากับพวกรวม 5 คน กรณีที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด ผู้พัฒนาโครงการแอชตัน อโศก เป็นผู้ร้องสอด

คดีดังกล่าวผู้ร้องได้มีการยื่นฟ้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในฐานะที่ร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ด้วยการอนุญาตให้บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก ดำเนินการก่อสร้างโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยแอชตัน อโศก โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 โดยให้เพิกถอนหนังสือรับแจ้งการก่อสร้างอาคารพิพาททุกฉบับโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่งดังกล่าว เพื่อมิให้คำสั่งดังกล่าวมีผลในระบบกฎหมายต่อไป นำมาสู่การยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด

อ่านเพิ่มเติม…
กรณีศึกษา ‘แอชตัน อโศก’ ระเบิดเวลาการพัฒนาเมือง
แอชตัน อโศก บทเรียนราคาแพงของคนซื้อคอนโด
ลูกบ้าน ‘แอชตัน อโศก’ ครวญ พวกเราผิดอะไร?
ตุลาการผู้แถลงคดีคือใคร?

รายงานข่าวระบุว่า ในการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุด ตุลาการผู้แถลงคดี ได้ให้ความเห็นต่อกรณีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อนุญาตให้ โครงการแอชตัน อโศก ใช้ที่ดินที่เวนคืนเพื่อเป็นทางเข้าออก ขยายถนนจากความกว้าง 6.4 เมตร เป็น 13 เมตร สอดรับกับกฎหมายควบคุมอาคาร ขณะที่ รฟม.ได้รับประโยชน์เป็นอาคารจอดรถและอาคารสำนักงานมูลค่า 97 ล้านบาท เป็นการดำเนินการโดยชอบ คำอุทธรณ์ของลูกบ้านและบริษัท อนันดาฯ ฟังขึ้น

ตุลาการผู้แถลงคดีจึงมีความเห็นว่า โครงการดำเนินการไปโดยชอบ ควรกลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง (ศาลชั้นต้น) ให้ยกฟ้องจำเลยทุกคดี อย่างไรก็ตาม คำแถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดีถือเป็น ความเห็นโดยอิสระ ไม่ผูกพันองค์คณะในการจัดทำคำพิพากษาในคดี “ไม่ได้” ถูกนำมา พิจารณาร่วมกับการตัดสินของตุลาการเจ้าของสำนวน จึงยังต้องรอคำพิพากษาถึง ที่สุดของศาลปกครองสูงสุดอีกครั้ง คาดว่า ต้องใช้ระยะเวลา 1-2 เดือน

ก็คงต้องรอลุ้นกันต่อเพราะถึงแม้ความเห็นของตุลาการผู้แถลงคดีจะออกมาในทางที่เป็นบวกกับโครงการและบริษัท อนันดา แต่ทั้งหมดก็ต้องขึ้นอยู่กับองค์คณะผู้พิพากษาในคดีนี้จะพิจารณาและตัดสินออกมาเช่นไร งานลูกบ้านของโครงการแอชตัน บริษัท อนันดา และผู้ร่วมทุนจากญี่ปุน สถาบันการเงิน รวมไปถึงคอนโดอื่นๆ ที่ทำในลักษณะเดียวกัน ยังต้องรอลุ้นกันต่อไป แต่ก็เริ่มมองเห็นแสงว่างที่ปลายอุโมงค์กันบ้างแล้วล่ะครับ