fbpx
4. Life Asoke – Rama 9 co – working 1

เอพี พลิกโฉมดีไซน์ ชูแนวคิด Future of Longevity Design รับกระแส New Normal

กระแส New Normal หรือ Next Normal กำลังมาแรง แม้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า พฤติกรรมผู้บริโภคในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด จะคงอยู่ต่อไปหลังจากสถานการณ์คลี่คลายลงแล้วหรือไม่ แต่ก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ริมทรัพย์ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ของมันต้องมี” จึงจำเป็นต้องปรับตัวรองรับความเป็น New Normal ที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ แต่จะต้องปรับแค่ไหนเพื่อไม่ให้เสี่ยงเกินไป และที่สำคัญต้องไม่กระทบกับต้นทุนในภาวะที่กำลังซื้อผู้บริโภคยังง่อนแง่น จึงเป็นโจทย์ที่ต้องคิดกันอย่างหนัก

รายล่าสุดก็คือ เอพี ไทยแลนด์ ที่ได้ทำการปรับดีไซน์ครั้งใหญ่ภายใต้แนวคิด The Future of Longevity Design บริบทใหม่ของการอยู่อาศัยร่วมกันในความปกติใหม่ รองรับกับพฤติกรรม New Normal ในตลาดอสังหาริมทรัพย์

นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี ไทยแลนด์ กล่าวในเรื่องนี้ว่า ในช่วงที่ทุกคนต้อง Work From Home และต้องทำ Social Distancing ทีมเอพี ดีไซน์ แล็บ ก็ได้ศึกษาและวิจัยถึงพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของคนที่ต้องอยู่บ้านมากขึ้น โดยได้ทำแคมเปญเพื่อให้คนแชร์รูปภาพกิจกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเข้ามาทำให้เรามองเห็น 3 Key Word สำคัญ สำหรับการใช้พัฒนาโปรดักส์ของเอพี ประกอบด้วย

1.ความหนาแน่น (Density) ซึ่งการทำ Social Distancing ทำให้ต้องมีพื้นที่ส่วนบุคคลที่มากขึ้น การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการกับปริมาณการเข้าใช้งานในสเปซนั้นๆ
2. สุขภาพร่างกาย (Health) กลายเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดูแลทั้งตัวเอง คนรอบข้าง และต้องรับผลิดชอบต่อสังคม

3. ทางเลือกด้านเทคโนโลยี (Technology) การมองหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัย

ทั้ง 3 Key Word ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่นำมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาโครงการในอนาคตของเอพี เพื่อส่งมอบพื้นที่ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าในอนาคต ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายในการสร้างความมั่นใจ และทำให้สามารถใช้ชีวิตช่วงระหว่างและหลังวิกฤตได้อย่างราบรื่น ปลอดภัย และมีความสุข โดยไม่สร้างภาระการดูแลและค่าใช้จ่ายในอนาคต ทั้ง 3 Key Word ประกอบร่างกันเป็นแนวคิด The Future of Longevity Design เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในโครงการของเอพีใช้พื้นที่ได้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

สำหรับแนวคิด The Future of Longevity Design แบ่งออกเป็น 4 แนวทางสำคัญ ได้แก่

The Next-Level of Sharing Space การนำเสนอทฤษฎีใหม่ ‘Human x Social Distancing Scale’ ที่ใช้หลักการของการออกแบบสัดส่วนมนุษย์ กับการเว้นระยะห่างทางสังคมในพื้นที่ส่วนกลางที่มีระยะห่างตั้งแต่ 1.20-3.00 เมตร เพื่อลดความหนาแน่นในพื้นที่ส่วนกลางต่างๆ เช่น Lobby, Co-working Space, Fitness และ Lounge เป็นต้น ซึ่งทำให้ Human scale บางอย่างที่จะปรับเปลี่ยนไป Sharing Space จะเปลี่ยนไป ให้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น

นายวิทการ ยกตัวอย่างว่า อย่างห้องนั่งเล่นในพื้นที่ส่วนกลาง ที่นั้งจะต้องมีระยะห่างที่มากขึ้น การจัดวางพื้นที่ หรือการวางเฟอร์นิเจอร์ จะเรื่องสำคัญที่สุด โดยพยายามจำกัดในเรื่องของ Face to Face Contact ทุกคนจะมีพื้นที่ของตัวเองโดยที่ไม่ต้องไปนั่งเจอหน้าใคร หรือการทำ cross seating plan การนั่งหันหลังก็จะไม่ชนกับคนที่นั่งฝั่งตรงข้าม เป็นการจัดวางที่นั่งแบบสลับฟันปลา โดยเอาอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โต๊ะหรือที่วางแขนมาเป็นตัวกั้น เป็นดีไซน์ที่ทำให้เกิด Social Distancing ขึ้น ให้มีความลงตัว และไม่อึดอัด และที่สำคัญเป็นดีไซน์ที่สามารถใช้ไปได้อีกนาน

สำหรับใน Co-working Space ก็มีพื้นที่ที่เป็น Signature ของเอพี ซึ่งก็คือ โคคูน ดีไซน์ เป็นพื้นที่ทำงานส่วนตัวในพื้นที่ที่เป็น Sharing Space ส่วนห้องฟิตเนส เป็นอีกส่วนที่สำคัญที่สุดในเรื่องของ Social Distancing ซึ่งจะเป็นแนวทางใหม่ที่จะนำมาใช้ในการออกแบบฟิตเนสของเอพีในอนาคต ทั้งเรื่องของระยะห่าง เรื่องของรูปแบบพื้นที่ที่จะทำอย่างไรไม่ให้คนต้อง Face to Faceกันมาก และเป็นพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น โดยการ การ crossing workout คือการวางอุปกรณ์ให้สลับกันไปมา เป็นต้น

Clean Air Quality ใช้หลักการออกแบบระบบระบายอากาศ (Ventilation Design) ออกแบบพื้นที่ให้โปร่งโล่ง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศภายใน ตลอดจนและการพัฒนานวัตกรรมและเลือกใช้เทคโนโลยีที่เอื้อให้เกิดอากาศที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับการคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน และการบำรุงรักษาในระยะยาว

ที่สำคัญคือชั้นที่อยู่อาศัย ทางเดินทุกชั้นต้องสามารถเปิดรับแสง ระบายอากาศได้ ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ของเอพี ก็คือ Corridor Airflow ซึ่งเป็นนวัตกรรมการออกแบบที่สามารถทำให้ระบายอากาศในชั้นทางเดินได้ตลอดเวลาและสิ่งที่คนให้ความสำคัญมากๆ ในห้องที่ค่อนข้างเล็กมีความหนาแน่นของคนจะติด plasma cluster เข้าไป เพื่อฆ่าเชื้อ และจัดการเรื่องฝุ่นได้ด้วย รวมถึงการใช้สีที่สามารถจัดการสิ่งสกปรกในตัวเองได้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ภายในของเรามีอากาศที่บริสุทธิ์และมั่นใจได้ว่าอยู่ในที่ที่ปลอดภัย

Trustable Society คือการยกระดับมาตรฐานการทำงานของทีมบริหารจัดการจาก บริษัท สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SMART) พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเมนต์ ในเครือเอพี เพื่อสร้างสังคมแห่งการเชื่อใจ อุ่นใจในทุกพื้นที่อยู่อาศัย ด้วยการวางแผนบริหารจัดการให้ทุกพื้นที่ห่างไกลเชื้อโรค พร้อมเป็นผู้ช่วยในการช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกบ้านในการเข้าใช้ Facilities ต่างๆ ภายในโครงการ นอกเหนือจากการเข้มงวดด้านความสะอาดที่ยึดเป็นพื้นฐาน

Tech-Life Management การนำ SMART WORLD ดิจิตอลแพลตฟอร์มบริหารคุณภาพชีวิตหลังการเข้าอยู่อาศัยเข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการอยู่อาศัย

“แนวคิด The Future of Longevity Design ซึ่งมาจาการ insight ของผู้บริโภคจากการศึกษาและวิจัยของเอพี ดีไซน์ แล็บ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ในระยะยาวและสามารถปรับใช้ได้เรื่อยๆ จึงน่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า ที่สำคัญ ปัจจัยเรื่องของราคาเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ และถือเป็นความท้าทายของเราที่จะทำอย่างไรให้ราคายังต่อสู้กับตลาดได้ ซึ่งการออกแบบให้คุ้มค่าต่อการใช้ถือเป็นการลดต้นทุนไปได้ในตัว ขณะเดียวกัน บริษัทก็มี economy of scale ในการต่อรองให้ได้ต้นทุนที่ถูกกว่า”

ทั้งนี้ แนวคิด The Future of Longevity Design จะเริ่มทะยอยมาใช้กับโครงการใหม่ของเอพี โดยโครงการแรกที่นำมาใช้ได้แก่ คอนโดพร้อมอยู่ LIFE อโศก-พระราม 9 คอนโดมิเนียมร่วมทุนใหม่โครงการที่ 11 ระหว่างเอพีและพันธมิตรญี่ปุ่น มิตซูบิชิ เอสเตท เรสซิเดนซ์ (บริษัทในเครือมิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป) ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเตรียมโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อให้เป็นการอยู่อาศัยร่วมกันในบรรทัดฐานใหม่อย่างยั่งยืน

นายวิทการกล่าวต่ออีกว่า วิกฤติจากไวรัสโควิด-19 เป็นวิกฤติที่รุนแรงและรวดเร็ด สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวางรวมถึงธุรกิจอสังหาฯก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน

“ก่อนที่จะเกิดวิกฤติจากไวรัสโควิด-19 ปีนี้ก็เป็นปีที่ยากในการทำธุรกิจอยู่แล้ว เมื่อมาเจอวิกฤติจากโควิด-19 เข้ามาซ้ำเติมทำให้เราต้องทำการบ้านอย่างหนัก ตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 1 คาบเกี่ยวถึงต้นไตรมาสที่ 2 sentiment ของตลาดแย่เอามากๆ เพราะยังไม่มีความแน่นอน เป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความกลัว และความวิตกกังวล จำนวนผู้เข้าชมโครงการและยอดขายลดลงอย่างมาก โดยยอดคนเข้าชมโครงการของเอพีเฉลี่ยเหลืออยู่ 720 คน/สัปดาห์เท่านั้น”

ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้ทีมเอพี ต้องกลับมาทำการบ้านอย่างหนัก ทั้งคิดและทำกันทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เพื่อแก้ปัญหาและผลักดันยอดขายให้กลับมาให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ vTOUR การชมโครงการผ่านระบบออนไลน์ ไลฟ์สดกับทีมขาย รวมถึงการออกแคมเปญกระตุ้นการขายต่างๆ ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง และการออกมาตรการดูแลความสะอาด ความปลอดภัยในโครงการ ซึ่งผลจากการที่บริษัท และผู้ประกอบการรายอื่นๆ ช่วยกันกระตุ้นตลาดทำให้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น

“จะเห็นว่าในช่วงสงกรานต์ซึ่งปกติเป็นช่วงที่ยอดขายจะต่ำสุดของปีอยู่แล้วเพราะเป็นช่วงหยุดยาวแต่ปีนี้เป็นปีที่ไม่เหมือนเดิม จากการที่ผู้ประกอบการแต่ละรายร่วมกันทำตลาดทำให้ sentiment เริ่มกลับมายอดลูกค้าเข้าโครงการและยอดขายเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และสูงขึ้นอีกในเดือนพ.ค. จากการที่บริษัทเปิดโครงการแนวราบ 6 โครงการ ผู้เข้าชมโครงการดีดกลับมาอยู่ที่ 1,270 คน/สัปดาห์ ทำให้มียอดขาย 5 เดือน รวม 12,300 ล้านบาท หรือประมาณ 40% จากเป้า 33,500 ล้านบาท และหากโฟกัสที่ 2 เดือนคือเดือนเม.ย.และพ.ค. บริษัทมียอดขาย 6,255 ล้านบาท เติบโต 43% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่ายอดขายไตรมาส 1 ทั้งไตรมาสอีกด้วย”

นายวิทการ ทิ้งท้ายว่า เชื่อว่าในวิกฤติยอมมีโอกาส เพราะอสังหาริมทรัพย์เป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงและมีการเพิ่มของราคาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยลดลง การลงทุนประเภทอื่นยังผันผวน เอพีจะใช้โอกาสนี้มาต่อยอดการทำตลาดในไตรมาส 3-4 ซึ่งเชื่อว่ายังมี momentum ที่ดี และในขณะเดียวกัน บริษัทยังคงใช้โปรโมชั่นในการทำตลาดอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น

LIFE อโศก – พระราม 9 คอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ใหม่ล่าสุด โครงการร่วมทุนระหว่างเอพีและพันธมิตรญี่ปุ่น มิตซูบิชิ เอสเตท เรสซิเดนซ์ (บริษัทในเครือมิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป) มูลค่ามากถึง 9,800 ล้านบาท จำนวน 1 อาคาร 2 ทาวเวอร์ (ทาวเวอร์ A สูง 42 ชั้น และทาวเวอร์ B สูง 46 ชั้น) จำนวน 2,248 ยูนิต สถานะยอดขาย 95% ราคาเริ่มต้น 3.1 ล้านบาท (หรือเริ่ม 125,000 บาท/ตร.ม.) พื้นที่ใช้สอย 25-58 ตร.ม. โดดเด่นด้วยพื้นที่ส่วนกลางกว่า 7.5 ไร่ ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินพระราม 9 ประมาณ 300 เมตร