ในร่าง ผังเมืองกทม. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 จะมี 25 พื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ ที่ได้ถูกปรับสีการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เข้มข้นขึ้น เพื่อรองรับกับระบบขนส่งมวลชนทางรางเส้นทางปัจจุบันและในอนาคต โดยเฉพาะการขยายตัวของพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางกว่า 60,000 ไร่ กระจายอยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกและฝั่งเหนือของกทม.
สำหรับในตอนแรกได้กล่าวถึงบริเวณที่มีการ Upgrade ไปแล้ว 10 บริเวณ ติดตามอ่านได้ที่
Upgrade 25 ทำเลทั่วกรุงรองรับโครงข่ายรถไฟฟ้า(ตอนที่ 1) ส่วนอีก 15 บริเวณที่จะปรับการใช้ประโยชน์ตามร่าง ผังเมืองกทม. ฉบับใหม่ มีดังนี้
บริเวณที่ 11 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.4) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.7) บริเวณถนนศรีนครินทร์ เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
บริเวณที่ 12 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.7) เป็นพาณิชยกรรม (พ.5) บริเวณถนนศรีนครินทร์และถนนบางนา-ตราด เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
บริเวณที่ 13 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.3) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.5) บริเวณถนนอ่อนนุช เพื่อรองรับการเพิ่มความหนาแน่นของย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง
บริเวณที่ 14 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.2) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.3) บริเวณถนนเจ้าคุณทหาร เพื่อรองรับการเพิ่มความหนาแน่นของย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง
บริเวณที่ 15 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (ก.1) เป็นชนบทและเกษตรกรรม (ก.3) โดยการปรับปรุงระบบการป้องกันน้ำท่วมและ การระบายน้ำบริเวณพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
บริเวณที่ 16 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.4 เดิม) เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.4) เพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์ชุมชนเกษตรกรรมในเขตหนองจอก
บริเวณที่ 17 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.5) เป็นพาณิชยกรรม (พ.3) บริเวณศูนย์ชุมชนชานเมืองหนองจอก เพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์ชุมชนชานเมืองด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
บริเวณที่ 18 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.4 เดิม) เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.4) เพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์ชุมชนเกษตรกรรมในเขตหนองจอก
บริเวณที่ 19 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.4 เดิม) และที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.3) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.7) บริเวณศูนย์ชุมชนชานเมืองลาดกระบัง เพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์ชุมชนชานเมือง ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
บริเวณที่ 20 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.4 เดิม) เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.4) เพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์ชุมชน เกษตรกรรมในเขตลาดกระบัง
บริเวณที่ 21 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.5) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.8) และที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.7) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (ย.11) บริเวณถนนเพชรเกษม ถนนกัลปพฤกษ์ และถนนเอกชัย เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ท่าพระ-บางแค) สายสีแดง (หัวลำโพง-มหาชัย) และสายสีเขียว (บางหว้า-ตลิ่งชัน)
บริเวณที่ 22 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (ก.2) เป็นที่ดิน ประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.3) ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.3) ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.6 และ ย.8) และพาณิชยกรรม (พ.4) เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) สายสีเขียว (บางหว้า-ตลิ่งชัน) และสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) และการพัฒนาศูนย์ชุมชนชานเมืองตลิ่งชัน
บริเวณที่ 23 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.4 และ ก.5 เดิม) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.2) ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.1) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (ย.3) ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.5) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.8) และ ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.6) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (ย.9) บริเวณถนนพระราม 2-และถนนกาญจนาภิเษก เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (หัวลำโพง-มหาชัย)
บริเวณที่ 24 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.4 เดิม) เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.4) เพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์ชุมชนเกษตรกรรมในเขตทวีวัฒนา
บริเวณที่ 25 ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.4 เดิม) เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (ก.4) เพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์ชุมชนเกษตรกรรมในเขตหนองแขมและเขตบางขุนเทียน