fbpx
5

‘เอพี’ ส่ง 3 นวัตกรรม ย้ำ Quality of Life

ถือเป็นก้าวย่างสำคัญที่จะตอกหมุด ย้ำวิสัยทัศน์ AP WORLD, A Vision for  Quality of Life ของ เอพี ไทยแลนด์ กรุ๊ป ที่ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปี เมื่อ เอพี ได้อัพเดตความก้าวหน้ากับ 3 นวัตกรรม ที่ถูกพัฒนาขึ้นตามกระบวนการของ Stanford Desing Thinking หลังจากตกผลึกกับแนวคิดนี้มาสักระยะก็ถึงเวลาที่จะต้องปล่อยของกันเสียที

 

วิทการ จันทวิมล

 

“ทั้ง 3 นวัตกรรม เกิดจากกระบวนการ Desing Thinking ซึ่งไม่จำเป็นต้องให้เกิดการ Disrupt อะไรใหญ่โต อาจเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ เพื่อแก้ Pain Point ให้กับลูกบ้าน แต่ต้องเป็นนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้อยู่อาศัย” วิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ เอพี ไทยแลนด์ กรุ๊ป กล่าว

เอพีใช้เงินลงทุนไปกับ 3 นวัตกรรมนำร่องนี้ทั้งสิ้น 660 ล้านบาท เริ่มดำเนินการมาประมาณ 1-2 ปี ตั้งแต่การเอาวิสัยทัศน์ในเรื่องของ Quality of Life มาจับ พบว่ามี 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ เรื่องของความปลอดภัย และเรื่องของการอยู่อย่างคงทนยั่งยืน นำเข้าสู่กระบวนการ Desing Thinking จนได้บทสรุปออกมาเป็น 3 นวัตกรรม 3 สไตล์

KATSAN หรือ คัดสรร ในชื่อภาษาไทย หนึ่งในนวัตกรรมที่ เอพี ปล่อยออกมาชุดแรก เพื่อแก้ Pain Point อันดับต้นๆ ในเรื่องของการอยู่อาศัยให้กับผู้บริโภค นั่นคือเรื่องของความปลอดภัยในโครงการ ซึ่งเป็นความต้องการแฝงเชิงลึก (Unmet Need) และเป็นความกังวลใจจากบริการที่อาจจะยังไม่ตอบโจทย์

KATSAN คือ บริการจัดการความปลอดภัยภายในหมู่บ้านในเรื่องการคัดสรรบุคคลภายนอกที่จะเข้าสู่โครงการ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง Computer Vision และการประมวลผลผ่าน AI เหมือนเป็นผู้คุ้มกันส่วนตัวอัจฉริยะ (Personal Guardian) ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากความหละหลวม ด้วย Security Matrix การประมวลผลการเข้าออกอัจฉริยะ

 

 

นอกจากนี้ KATSAN ยังมีฟังก์ชันการบริหารจัดการความปลอดภัยอื่นๆ ที่เชื่อมต่อเจ้าของบ้าน ทีมบริหารจัดการหมู่บ้าน (Property Management) และส่วนงานรักษาความปลอดภัย (Security Team) เข้าสู่ฐานข้อมูลหลักของหมู่บ้าน ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ วางแผนการบริหารจัดการ รองรับการเข้า-ออกในโครงการได้

HOMEWISER คือ อีกหนึ่งนวัตกรรมที่ทีม เอพี พัฒนาขึ้น เพื่อแก้ Pain Point ในเรื่องของการดูแลบ้านที่ผู้อยู่อาศัยมักจะมีความกังวลจากความไม่รู้ว่าจะดูแลมันอย่างไร เพื่อให้บริการด้านการดูแล บำรุงรักษาบ้าน เสมือนเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำบ้าน (Personal Home Advisor) ด้วยแนวคิดการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive  Maintenance)

 

 

รวมถึงบริการตรวจเช็คและวางแผน สุขภาพบ้านโดยผู้เชี่ยวชาญ (Home Health Check & Planning) พร้อมเก็บบันทึกข้อมูลต่างๆ ไว้อย่างเป็นระบบผ่านฐานข้อมูลที่สะดวกต่อการเข้าตรวจเช็ค ดูแลก่อนเกิดความเสียหาย ด้วยระบบการแจ้งเตือนอัตโนมัติ เมื่ออุปกรณ์หรือระบบต่างๆ ภายในบ้านถึงรอบการดูแล พร้อมบริการเสริมอื่นๆ (On-Demand Service) ที่เลือกได้ตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย เป็นต้น

ทั้ง 2 นวัตกรรมบริการพัฒนาโดยบริษัทลูกที่ชื่อว่า เคลย์มอร์ ซึ่งเป็นบริษัทที่คิดค้นเรื่องของนวัตกรรม ส่วนอีกนวัตกรรม คือ ‘YourNextU’ เป็นเรื่องของการศึกษาออกแนวธุรกิจเชิงสังคมที่เอพีต้องการการยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนในสังคมให้ดียิ่งขึ้นโดยบริษัทลูกที่ชื่อว่า ‘เอสอีเอซี’

“เอสอีเอซี เป็นอีกธุรกิจของเอพีที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ความสามารถของคนในองค์กร และคนในสังคม ผ่านการสร้างนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้อย่าง ‘YourNextU’ ในรูปแบบของ Learning Buffet Model โมเดล ด้วยหลักสูตรเพื่อการพัฒนาศักยภาพแบบรอบด้านกว่า 300 หลักสูตร ทั้งแบบในคลาสเรียน และออนไลน์” วิทการกล่าว

 

นิภัทรา ตั้งพจน์ทวีผล

 

ขณะที่ นิภัทรา ตั้งพจน์ทวีผล Executive Director ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน หรือเอสอีเอซี (SEAC) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า YourNextU คือ นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อ Disrupt การศึกษาครั้งแรกของโลก ด้วยการเป็น World-Class Education Service กับโมเดลการเรียนรู้แบบ Learning Buffet Model เรียนแบบไม่สิ้นสุด เรียนซ้ำได้อย่างไม่จำกัดกับคลาส และโปรแกรมระดับโลกกว่า 300 หลักสูตร

โดยมีรูปแบบการเรียนรู้ทั้ง   1. Classroom อบรมในห้องเรียนกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในหลักสูตรต่างๆ 2. Social Learning การเรียนรู้ในรูปแบบแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูล หรือเรื่องราวจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการเรียน วิทยากร นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ หรือผู้นำทางความคิด 3. Online เรียนรู้เนื้อหาผ่านออนไลน์ พร้อม Subtitles ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเวลา และสถานที่ที่ผู้เรียนสะดวกได้ 4. Library คลังความรู้ที่ผู้เรียนสามารถดาวน์โหลดได้อย่างไม่จำกัด

ทั้งนี้ ผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อ และรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะกับตนเองได้อย่างอิสระ ไม่จำกัดหัวข้อ และจำนวนครั้งภายในระยะเวลา 1 ปี  ด้วยค่าบริการเพียง 12,000 บาท/ปี

วิทการ ตบท้ายว่า เบื้องต้นคาดว่าใน 3 ปี จะมีรายได้จาก 3 นวัตกรรมนี้ประมาณ 3,000 ล้านบาท และหลังจากนี้จะยังมีนวัตกรรมอื่นๆ ที่ตอบโจทย์ในเรื่องของ Quality of Life ออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนผลประกอบการ 5 เดือน เอพี มียอดขายแล้ว 17,500 ล้านบาท

ขณะที่ไตรมาสแรกมียอดขาย 12,500 ล้านบาท ในช่วง 2 เดือนของไตรมาสที่ 2 มียอดขาย 5,000 ล้านบาท โดยที่ไม่ได้มีการเปิดโครงการใหม่ และหวังว่า เมื่อได้รัฐบาลใหม่ มีทีมเศรษฐกิจเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออก

นวัตกรรมนำร่องทั้ง 3 คือ การนับหนึ่งของการเข้าสู่ธุรกิจบริการอย่างเต็มตัว โดย เอพี ตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 6,000 ล้านบาท ในปี 2565 แต่ที่สำคัญเหนืออื่นใดคือ การสร้างความเชื่อมั่น และความพึงพอใจให้กับลูกค้า เพื่อการก้าวต่อที่มั่นคงและยั่งยืน