fbpx
ทาวน์ชิป รังสิต คลอง 1 Big Size scaled e1641617224172

LPP แตกไลน์ธุรกิจครบวงจร เร่งปั๊มรายได้เดินหน้าเข้าตลาดตามแผน

หลังจากแยกการบริหารออกมาจากบริษัทแม่ในปี 2564 บริษัท แอล พี พี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP)หรือบริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด เดิมซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน)มีเป้าหมายที่ชัดเจนที่จะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจ Property Management Service กว่า 30 ปี พร้อมกับขยายการลงทุนไปในธุรกิจที่อยู่ Ecosystem เดียวกัน เพิ่มสินค้าและบริการครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มรายได้ กระจายความเสี่ยง เพื่อให้ LPP มีความเฉิดฉายมากขึ้นในสายตานักลงทุน

ผ่านมา 2 ปีกับการเป็น LPP วันนี้ สุรวุฒิ สุขเจริญสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LPP จะมาอัพเดตถึงความเปลี่ยนใน 2 ปีที่ผ่านมา และความพร้อมในการก้าวไปสู่การเป็นบริษัทมหาชนในอนาคต

ในธุรกิจ Property Management Service หรืองานบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัย LPP ขยายจากการบริหารโครงการที่อยู่อาศัยให้กับ LPN ออกไปรับงานบริหารอาคารให้กับบริษัทอื่นๆ หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า Non-LPN ทั้งอาคารชุดพักอาศัย บ้านจัดสรร รวมๆ แล้วทั้งงานของ LPN และ Non-LPN มีจำนวนถึง 300 โครงการ แบ่งเป็นบริหารคอนโดมิเนียมมากถึง 250 นิติบุคคลอาคารชุด และบ้านจัดสรรประมาณ 30-50 นิติบุคคล โดยสัดส่วนของโครงการที่เป็น Non-LPN เพิ่มเป็นเกือบๆ 40%

นอกจากนี้ LPP จะขยายธุรกิจ Property Management Service ไปในต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ชลบุรี อุดรธานี ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่เรามีโครงการเป็นฐานเดิมอยู่แล้วก็จะไปต่อยอดจากฐานเดิมที่มีอยู่ ขณะเดียวกัน ภายในองค์กรจะมีการ Digital Transformation ทำการอัพเกรด งานระบบที่เป็น Digital ของเราเอง เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น และในส่วนของโครงการที่ LPP บริหารอยู่จะนำนวัตกรรมด้านที่อยู่อาศัยที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับโครงการและผู้อยู่อาศัย ยกตัวอย่างเช่น การติดตั้งโซล่าร์เซลล์ อีวี ชาร์จเจอร์ รวมถึงระบบประหยัดไปในโครงการปรับอากาศ เป็นต้น

“ตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจหลักของเราจะเป็น Property Management Service งานบริหารจัดการอาคาร บริการฝากขายและเช่า แต่เมื่อ LPP แยกตัวออกมาจาก LPN เพื่อสร้างมั่นคงและสร้างธุรกิจให้ครบวงจร จึงต้องมีการขยายธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้าง New S-Curve ทั้งในเรื่องการมีโปรดักส์ มีบริการใหม่ๆ สร้างโอกาสให้กับ LPP มีผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น ทำให้แอสเสทมีการขยายตัวและเติบโตได้ดี ตามแผน ที่เราจะก้าวสู่การเป็นบริษัทมหาชน”นายสุรวุฒิ กล่าว

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จึงได้ขยายธุรกิจใหม่ๆ ที่อยู่ Ecosystem เดียวกัน โดยอาศัยจุดแข็งจาก Property Management Service ต่อยอดไปยังธุรกิจอื่นๆ เพิ่มความครบวงจรให้กับ LPP ไม่ว่าจะเป็น งานบริหารจัดการอาคารเชิงพาณิชย์ (Facility Management Service) งานบริการด้านวิศวกรรม (Engineering Service) งานบริการด้านระบบรักษาความปลอดภัย (Security Service by LSS Security Solutions) งานบริการที่ปรึกษาโครงการอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Development Consultant)

ปัจจุบัน LPP มีบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำกัด (LPS) งานบริการบริหารโครงการก่อสร้าง บริษัท รักษาความปลอดภัย แอลเอสเอส โซลูชั่นส์ จำกัด (LSS) งานบริการด้านระบบรักษาความปลอดภัย ล่าสุด LPS ได้เข้าไปถือหุ้น 60% ในบริษัท พี ดับบลิว กรุ๊ป เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (PW Group) ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาที่เชี่ยวชาญการ Renovate งานระบบต่างๆ ในอาคาร เพื่อขยายงาน Renovate ปรับปรุงอาคาร ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นจากอาคารเก่าในกรุงเทพมหานครที่ได้เวลาต้องเข้าไปปรับปรุงอาคาร อัพเกรดระบบให้ทันสมัย รวมถึงเทรนด์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปรับหยัดพลังงาน สมาร์ท ลิฟวิ่งจะเป็นแรงผลักดันให้อาคารที่เกิดขึ้นจำนวนมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะต้องอัพเกรดตาม ซึ่งถือเป็นโอกาสของ LPP ที่จะเข้าไป

“ปัจจุบันโครงสร้างรายได้ของ LPP ยังคงเป็นงานด้านบริหารนิติบุคคล และบริหารอาคารในสัดส่วน 60% งานบริการด้านวิศวกรรม 20% งานด้านรักษาความปลอดภัยและแม่บ้านร้อยละ 20% แต่ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมางานบริการด้านวิศวกรรมมีการเติบโตขึ้นมากๆ จากการเข้าไปปรับปรุงอาคารเก่าให้มีความทันสมัยทำให้อาคารกลับมาน่าอยู่อีกครั้งและทำให้มูลค่าอาคารและค่าเช่ายังไปได้ต่อ โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา PW Group สามารถทำรายได้สูงถึง 80 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้รายได้จะเพิ่มขึ้นเป็น 130 ล้านบาท และในอนาคต งานบริการด้านวิศวกรรม งานด้านรักษาความปลอดภัยและแม่บ้าน จะมีสัดส่วนรายได้รวมใกล้ 50% และจะเกินกว่า 50% ในระยะยาว”

นอกจากนี้ LPP ยังมองเห็นโอกาสในเข้าไปบริหารโครงการเช่า โดยล่าสุด ได้ให้เข้าบริหารจัดการหอพัก U-Center ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปของการลงทุนปรับปรุง และบริหารจัดการพื้นที่หอพักทั้ง U-Center 1 และ 2 ด้วยงบลงทุนตลอดระยะสัญญากว่า 150 ล้านบาท ในการปรับปรุงอาคาร และตกแต่งห้องพัก รวมถึงค่าตอบแทนการใช้พื้นที่ตลอดอายุสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566-31 พฤษภาคม 2574 และจะขยายไปรับบริหารหอพักอื่นๆ รวมถึงโครงการอพาร์ตเมนต์ในอนาคต ขณะเดียวกัน ในส่วนของธุรกิจที่ปรึกษา และการบริหารการก่อสร้าง ก็มีเป้าหมายจะขยายงานเพิ่มขึ้นจากกลุ่มเจ้าของที่ดินที่เป็น Landlord และต้องการเข้ามาลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจะเข้ารับงานตั้งแต่การเป็นที่ปรึกษา และบริหารงานก่อสร้างครบวงจร

จากการขยายธุรกิจเพิ่ม และสามารถเติบโตได้เป็นอย่างดีทำให้ LPP สามารถ Beat Target ได้ปีละประมาณ 10% โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวม 1,200 ล้านบาทมีกำไรประมาณ 125 ล้านบาท ในปี 2566 มีรายได้รวม 1,550 ล้านบาท เติบโต 30% โดยคาดว่าจะมีกำไรประมาณ 150 ล้านบาท สำหรับในปี 2567 บริษัทตั้งเป้าเติบโตทั้งรายได้ และกำไรอยู่ที่ 20% หรือมีรายได้ประมาณ 1,800 ล้านบาท กำไร 180 ล้านบาท และที่เคยตั้งเป้าเอาไว้ในปี 2569 จะมีรายได้ 2,400 ล้านบาท หรือเป็น 2 เท่าจากปี 2565 จากธุรกิจที่กำลังขยายตัวได้ดีก็คาดว่าน่าจะ Beat Target ได้เช่นกัน

มาถึงวันนี้ความพร้อมในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯในปี 2567 ต้องบอกว่า LPP มีความพร้อมเต็มเปี่ยม แต่สุดท้ายก็ต้องขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาการเข้าที่เหมาะสม ซึ่งก็ต้องดูสถานการณ์ของตลาดในปี 2567 กันอีกที