fbpx
ARC22 E invitation Create Outline Final page 001

ส่องไฮไลท์งานสถาปนิก’65 เมื่อสถาปนิกปะทะซัพพลายเออร์ ไอเดียมันๆ จึงบังเกิด

หลังจากห่างหายไป 2 ปี งานสถาปนิก’65 ก็พร้อมที่จะกลับมาเปิดโชว์นวัตกรรมสำหรับงานออกแบบและผลิตภัณฑ์ก่อสร้างกันอีกครั้งภายใต้แนวคิด CO-WITH CREATORS: พึ่งพา-อาศัย เป็นการรวมพลังกันระหว่างเบื้องหน้าและเบื้องหลังการสร้างสรรค์งานออกแบบต่างๆ อันได้แก่ สถาปนิกและซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้างที่จะมาร่วมกันนำเสนอไอเดียใหม่ๆ ในการออกแบบซึ่งถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของงานในปีนี้

นายชนะ สัมพลัง นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า การจัดงานสถาปนิกในทุกๆ ปี ถือว่ามีส่วนสำคัญในการช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมออกแบบ-ก่อสร้าง สถาปัตยกรรมของประเทศไทย และเป็นสื่อกลางที่ดีที่สุดให้กับคนในแวดวงและผู้บริโภคได้มาเจอกัน และยังเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ในวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม เป็นเวทีที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานด้านการออกแบบและสถาปัตยกรรมไทยที่มีองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ

สำหรับงานสถาปนิก’65 จะมีความพิเศษกว่าเดิม เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้ก้าวเดินหน้าต่อในยุคโควิด โดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ และการพึ่งพาอาศัยศักยภาพของกันและกัน ระหว่างสถาปนิกxนักสร้างสรรค์ (Creators) ในสาขาอาชีพต่างๆ จนเกิดการ Cross-culture และ Cross-function นำมาสู่แนวคิดหลักของงาน คือ “CO-WITH CREATORS: พึ่งพา-อาศัย”

“แนวคิดนี้มาจากประธานจัดงาน 3 ท่าน จาก 3 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เล็งเห็นความสำคัญของการ “พึ่งพา-อาศัย” จากการได้ทำงานร่วมกันท่ามกลางแนวคิด ภาษา และวัฒนธรรมที่แตกต่าง ระหว่างสถาปนิกและนักสร้างสรรค์ในสาขาอาชีพอื่นๆ จากภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในมุมมองสถาปัตยกรรมใหม่ๆ หรือ เรื่องราวใหม่ๆ ที่อาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน และมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน คือ การต่อยอดและพัฒนางานในอุตสาหกรรมออกแบบ-ก่อสร้าง และสถาปัตยกรรม อย่างไม่สิ้นสุด” นายชนะกล่าว

ด้านนายปองพล ยุทธรัตน์ ประธานจัดงาน ตัวแทนสถาปนิกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ภายในงานสถาปนิกปีนี้จะพามาร่วมสัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ผ่านนิทรรศการไฮไลท์ของสมาคมสถาปนิกสยามฯอย่าง “PROFESSIONAL COLLABORATION” ออกแบบโดยความร่วมมือของ “ปกรณ์ อยู่ดี / วิภาดา อยู่ดี X ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย” ซึ่งเป็นพาวิลเลียนสำหรับจัดแสดงแนวความคิดและการทำงานร่วมกันในรูปแบบ Co-Creation ระหว่างสถาปนิกและนักสร้างสรรค์จากทั่วประเทศ จำนวน 12 คู่ ที่มาร่วมออกแบบ 12 นิทรรศการในพื้นที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ กับผลงานในรูปแบบหุ่นจำลอง (Model) ภาพถ่ายแนวความคิด และสื่อวิดีทัศน์

ขณะที่ นายอิศรา อารีรอบ ประธานจัดงาน ตัวแทนสถาปนิกภาคเหนือ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีพาวิลเลียมอื่นๆ ที่พลาดไม่ได้ อาทิ

CO-WITH COVID เป็นผลงานสร้างสรรค์ระหว่าง “สาริน นิลสนธิ X ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ” พื้นที่จัดแสดงที่ต้องการนำเสนอทางเลือกในการเดินหน้าไปสู่การดำเนินชีวิตแบบปกติใหม่อย่างมั่นคง ท่ามกลางการระบาดที่เกิดขึ้น ผ่านแนวคิดการออกแบบ โดยหยิบยกเอาอัตลักษณ์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีความเฉพาะตัวอย่างลวดลาย สีสันอันประณีต ความอ่อนช้อย และเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มาร่วมขัดเกลาให้ภาพรวมของพาวิลเลียนมีความลึกซึ้ง สื่อความหมาย

CO-BREATHING HOUSE (LOCAL INNOVATION) ของ “คำรน สุทธิ X จีรศักดิ์ พานเพียรศิลป์” ที่ถูกออกแบบพื้นที่ภายในเป็นห้องต่าง ๆ โดยใช้ผนังกั้นที่กลมกลืนไปกับวัสดุพื้นถิ่นและเลือกเล่นกับผัสสะ หรือประสาทสัมผัสของมนุษย์ ผ่านภาพ เสียง สัมผัส เพื่อให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับวัสดุพื้นถิ่นในแต่ละภาค รวมถึงอัตลักษณ์ของผู้สร้างสรรค์ได้อย่างแท้จริง

นายราชิต ระเด่นอาหมัด ประธานจัดงาน ตัวแทนสถาปนิกภาคใต้ กล่าวว่า สมาคมสถาปนิกสยามฯได้เตรียมกิจกรรมไฮไลท์อื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

ASA INTERNATIONAL FORUM และ ASA SEMINAR เวทีสัมมนาในรูปแบบ Hybrid Forum ซึ่งเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรที่เป็นสถาปนิกและนักออกแบบชั้นนำจากเมืองไทยและระดับโลก

ASA MEMBER นิทรรศการผลงานสถาปนิก สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ASA CLUB จุดนัดพบและพื้นที่พักผ่อนประจำของชาวสถาปนิก รวมถึง ASA NIGHT งานสังสรรค์ตามประเพณีของเหล่าสมาชิก

ด้าน นายศุภแมน มรรคา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีทีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะผู้จัดงาน กล่าวว่า งานสถาปนิก’65 ในปีนี้มีบริษัทที่ตอบรับเข้าร่วมจัดแสดงเต็มพื้นที่กว่า 50,000 ตารางเมตร รวมกว่า 450 บริษัท แบ่งเป็นผู้จัดแสดงสินค้าจากต่างประเทศกว่า 5% อาทิ อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ อินเดีย มาเลเซีย ฯลฯ

งานในปีนี้ยังมีผลงานสร้างสรรค์ที่น่าสนใจจากการจับคู่กันระหว่าง ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ x ซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้าง อาทิ

  • VG x PHTAA ที่นำเสนอพื้นที่แบบบ้านทรงไทยยกใต้ถุน โดยใช้วัสดุรางน้ำฝนและหลังคาไวนิล
  • TOA X ARiA Design Architects ที่เล่นกับรูปทรงประหลาดตาอันแสดงถึงศักยภาพของวัสดุที่ส่งเสริมการออกแบบอย่างยั่งยืน
  • WDC X ACa ตีโจทย์การออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยในห้องต่างๆ ออกมาเป็น Conceptual Space ผ่านวัสดุกระเบื้องหลายรูปแบบ
  • EDL x Sher Maker ผลงานออกแบบที่ชวนให้มองถึงแง่มุมในการใช้วัสดุแบบใหม่ๆ ผ่านพื้นที่ปิดล้อมเชิงประสบการณ์

นอกจากนี้ ผู้ผลิตสินค้าต่างๆ ในงานออกแบบและก่อสร้าง ได้นำผลิตภัณฑ์ที่ผสมผสานงานด้านดีไซน์ และนวัตกรรมเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ และไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของผู้อยู่อาศัย อาทิ เทรนด์ Health & Wellness ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ประเภท Hygienic Product เช่น

TOA Organic Care สีที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติแทนปิโตรเลียม ไร้สารก่อภูมิแพ้

ลามิเนตที่สามารถต้านเชื้อไวรัสได้ถึง 100% จาก GREENLAM LAMINATES

นวัตกรรมผ้า Anti-microbial Collections ที่ยับยั้งเชื้อไวรัสได้ 96% และแบคทีเรียได้ถึง 99% จาก PASAYA

รวมถึงนวัตกรรมจากต่างประเทศ อาทิ แผงโซลาร์เซลล์ Tesla และ Powerwall ที่ช่วยให้ผลิตไฟฟ้าไว้ใช้งานเป็นของตนเองได้ จาก SOLAR D

ผลิตภัณฑ์หินตกแต่งจากบราซิล โดย RICA STONE & MARBLE

ชุดครัว อ่างล้างมือ และแผ่นตกแต่งปิดผิว โดยทีมนักออกแบบชาวญี่ปุ่น จาก sanwacompany

การประชันระหว่างเครื่องมือช่างแบรนด์อันดับหนึ่งจากฝั่งอเมริกาและญี่ปุ่น อย่าง BLACK+DECKER และ MAKITA, APTICO

วัสดุปิดผิวนำเข้าจากประเทศออสเตรีย ด้วยเทคโนโลยีพื้นผิวสัมผัสเนื้อแมตต์ สามารถป้องกันรอยนิ้วมือและรอยขีดข่วนต่างๆ ลบรอยขีดข่วนได้ด้วยความร้อน ป้องกันแบคทีเรีย กันสารเคมี ทำความสะอาดได้ง่ายจาก EDL

ในส่วนของแบรนด์ดังที่มาร่วมจัดแสดงภายในงาน อาทิ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ – ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด นำเสนอผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิด “SCG for Smart Living, Smart City” สัมผัสกับนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยทั้งในบ้าน อาคาร และเทคโนโลยีการก่อสร้างจาก SCG ที่จะช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าสำหรับวันนี้และในอนาคต

บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด นำเสนอ สี JORAKAY BIOSPHERE PREMIUM ที่อยู่ในกลุ่มของสี Natural Color ผลิตจากวัสดุจากธรรมชาติ Lime Base ลดปัจจัยที่ทำให้เกิดโลกร้อน ช่วยระบาย และถ่ายเทความร้อนได้ดี ปราศจากสารก่อมะเร็ง (No Formaldehyde) ปลอดภัยกับสุขภาพ เข้าอยู่ได้ภายใน 24 ชั่วโมง เหมาะสำหรับงานทาสีบ้านใหม่และงานรีโนเวท

“คาดหวังว่าอุตสาหกรรมออกแบบ สถาปัตยกรรม อสังหาริมทรัพย์ และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จะเริ่มกลับมามีทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากตลาดซบเซาเป็นเวลานานจากสถานการณ์โควิด โดยเริ่มเห็นสัญญาณบวกจากผู้แสดงสินค้าจากต่างประเทศที่ตอบรับเข้าร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่งที่ผ่านมางานสถาปนิกจะเป็นอีกหนึ่งเวทีที่สามารถกระตุ้น หรือ ชี้วัดดัชนีทางเศรษฐกิจได้

โดยคาดว่า ตลอดการจัดงาน 6 วัน จะมีจำนวนผู้เข้าชมงานกว่า 300,000 คน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่มาเดินชมงานจะมีความหลากหลายมากกว่าการจัดงานที่ผ่านมา เนื่องจากได้ฐานผู้ติดตามกลุ่มนักสร้างสรรค์ (Creators) ที่มาร่วมครีเอทผลงานกับสถาปนิกในครั้งนี้ และมีเม็ดเงินสะพัดหลังจบงานกว่า 2 หมื่นล้านบาท” นายศุภแมนกล่าว

สำหรับงานสถาปนิก’65 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 เมษายน-1 พฤษภาคม 2565 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี สำหรับผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าชมงานล่วงหน้าได้ที่: https://bit.ly/36s6t2A หรือ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: www.ArchitectExpo.com