fbpx
shutterstock 1160793658

เทรนด์การย้ายออกจากเมืองใหญ่ ไทยควรเตรียมความพร้อมอย่างไร

เรียบเรียงจากบทความของ
จิตสุภา สุขเกษม | อวิกา พุทธานุภาพ
สำนักเศรษฐกิจภูมิภาค ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

การระบาดของโควิด-19 และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลต่อรูปแบบการทำงานและไลฟ์สไตล์โดยเฉพาะของคนรุ่นใหม่ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือกระแสการใช้ชีวิตในต่างจังหวัด นำมาสู่เทรนด์การย้ายออกจากเมืองใหญ่ซึ่ง กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอื่นๆ ทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการขยายตัวของความเป็นเมือง

ปรากฏการณ์นี้เป็นโอกาสของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคที่จะเปิดรับอุปสงค์จากผู้ซื้อกลุ่มใหม่ โดยปรับรูปแบบที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน บทความนี้จึงขอหยิบยกตัวอย่าง 4 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ เพื่อถอดบทเรียนปัจจัยสนับสนุนและประเมินความพร้อมของภูมิภาคไทย หากเทรนด์การย้ายออกจากเมืองใหญ่มีมากขึ้น

สหรัฐอเมริกา
-เมืองใหญ่ มีอัตราการย้ายออกมากกว่าย้ายเข้า (มี.ค.63-ก.พ.64) 82%
-ชานเมืองและเมืองรอง มีอัตราการย้ายเข้ามากกว่าย้ายออก 91%

ปัจจัยสนับสนุนการย้ายออก

  • Work from Home (WFH) เป็นนโยบายถาวรของหลายองค์กร
  • ราคาที่อยู่อาศัย ค่าครองชีพและอัตราภาษีเมืองปลายทางต่่ากว่า
  • โครงการ “Welcoming America” ของทางการ เพื่อช่วยเมืองเล็กที่ขาดแคลนแรงงานจากสังคมสูงวัย และมีประชากรไม่เกิน 50,000 คน จะได้รับการสนับสนุนด้านการฝึกหัดและด้านเทคนิค (Coaching and TechnicalAssistance) เพื่อสร้างอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่* ของแรงงานกลุ่มใหม่โดยเฉพาะกลุ่มผู้อพยพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีทักษะน้อย

* เช่น สนับสนุนการศึกษา การสอนภาษาในการสื่อสาร การใช้ e-mail การติดต่อกับหน่วยงานราชการ สถานีตำรวจ และโรงพยาบาล เป็นต้น

ญี่ปุ่น

– ปี 2563 ประชากรย้ายออกจากโตเกียวเป็นตัวเลขสูงสุดในประวัติการณ์
– กลุ่มคนที่ย้ายออกส่วนใหญ่เป็นประชากรวัยท่างาน

ปัจจัยสนับสนุนการย้ายออก

  • พนักงานในเมืองหลวงถูกลดค่าจ้างหรือเลิกจ้าง
  • สภาพแวดล้อมดีกว่าและค่าครองชีพถูกกว่าโตเกียว
  • รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนการท่างานทางไกล รวมทั้งการย้ายออกจากเมืองหลวงเพื่อผลักดันศูนย์กลางทางการเงินแห่งใหม่ และลดความแออัดในโตเกียว เช่น กำหนดให้รัฐบาลท้องถิ่นรับลงทะเบียนผู้ที่สนใจจะย้ายถิ่นฐานเพื่อจัดทำข้อมูลและจัดหาที่ดินที่เหมาะสม มอบเงินสูงสุด 1 ล้านเยนต่อคน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชากรยังทำงานให้กับบริษัทในโตเกียวแต่ย้ายออกไปอยู่เมืองรอบนอก

สหราชอาณาจักร
-ประชากรลอนดอนย้ายออกสะสม 1.6 ล้านคน (ปี 2558 -2562)

-70% อยู่ในวัยทำงาน (อายุ 20-29 ปี) และคาดว่าปี 2563จะสูงขึ้นจากปกติมาก

-30% ของประชากรวัยทำงานในช่วงอายุ 18-34 ปี ต้องการอาศัยในภูมิภาค

ปัจจัยสนับสนุนการย้ายออก

  • WFH และ Work from Anywhere (WFA) เป็นนโยบายของหลายองค์กร เพื่อรักษาแรงงานที่มีทักษะและประสบการณ์สูง
  • ค่าครองชีพและค่าเช่าถูกกว่าเมืองใหญ่
  • นโยบายย้ายข้าราชการ 22,000 อัตราออกจากลอนดอน
  • BREXIT ส่งผลให้แรงงานบางส่วนย้ายกลับบ้านเกิด หลังจากบริษัทย้ายออกนอกประเทศ

ไอร์แลนด์

ปัจจัยสนับสนุนการย้ายออก

  • นโยบาย “Our Rural Future” ปี 2564-2568 เพื่อกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่ห่างไกลและสนับสนุนการย้ายถิ่นฐานไปยังชนบท เช่น

-ตั้งเป้าย้ายงานข้าราชการ 60,000 อัตราไปยังชนบทภายในปี 2564

-ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการทำงานทางไกล รวมถึงสร้างระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั่วประเทศ

-นโยบายด้านภาษีสำหรับบุคคลและองค์กรที่สามารถทำงานที่บ้านได้

-สนับสนุนเงินให้แก่องค์กรท้องถิ่น เพื่อปรับปรุงอาคารว่างเปล่าให้เป็นศูนย์กลางการท่างานทางไกลและประชาสัมพันธ์ดึงดูดคนทำงานทางไกลและคนเก่ง (talent)

จับประเด็นสาเหตุการย้ายออกจากเมืองใหญ่ในต่างประเทศ
1. นโยบาย WFH และ WFA ของหลายองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจย้ายออกจากเมืองใหญ่ของแรงงาน

2. ค่าครองชีพและราคาที่อยู่อาศัยของเมืองปลายทางที่ต่ำกว่า

3. นโยบายภาครัฐ ในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในเมืองรอง และลดการแออัดในเมืองใหญ่

โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ เมืองที่ย้ายไปมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะที่รองรับการทำงานทางไกล

มองต่างประเทศเหลียวมองดูไทย
ปี 2563 ไทยพบเทรนด์การย้ายออกจากเมืองใหญ่เช่นกัน โดยส่วนใหญ่เป็นการกลับถิ่นฐานของแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ขณะที่กลุ่ม WFH และ WFA เริ่มมีให้เห็นบ้าง อาทิ บริษัทข้ามชาติ และองค์กรระหว่างประเทศที่มีสำนักงานในไทย เช่น Ipsos IMF และ ADB สำหรับบริษัทเอกชนในไทยก็มีการนำนโยบาย WFA มาใช้อย่างถาวร เช่น SCB และแสนสิริ เป็นต้น

  • ปี 2563 มีผู้ย้ายถิ่น 1.05 ล้านคน เพิ่มขึ้น 60% จากปี 2562 หรือคิดเป็น อัตราการย้ายถิ่น 1.5% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี
  • ภาคอีสานและภาคเหนือ มีอัตราการย้ายเข้ามากกว่าการย้ายออก ส่วนใหญ่ย้ายจากกรุงเทพฯ ขณะที่กรุงเทพฯ ภาคกลาง และภาคใต้ มีอัตราการย้ายออกมากกว่าย้ายเข้า ทั้งนี้ กรุงเทพฯ มีอัตราการย้ายออกมากกว่าย้ายเข้าตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
  • จังหวัดที่มีจ่านวนผู้ย้ายเข้าสูงสุดในแต่ละภูมิภาค (ไม่รวมกรุงเทพฯ) คือ เชียงใหม่ 52,344 ค น นครราชสีมา 40,758 คน และนครศรีธรรมราช 35,821 คน นอกนั้นกระจายไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

  • ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ย้ายถิ่นมีวัตถุประสงค์ด้านการงาน และ1 ใน 4 ของผู้ย้ายถิ่นที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สอดคล้องกับผลสำรวจด้านอาชีพผู้ย้ายถิ่นที่กลุ่มใหญ่สุดคือ กลุ่มอาชีพที่ใช้ทักษะปานกลางและต่ำ คืออาชีพงานบริการและอาชีพพื้นฐาน รวมกันคิดเป็นร้อยละ 44 ของคนย้ายถิ่นทั้งหมด

สรุปและข้อเสนอแนะ
เทรนด์การย้ายออกจากเมืองใหญ่ นับเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ โดยมีสาเหตุหลักจากกระแสการ WFH และ WFA ค่าครองชีพและอสังหาริมทรัพย์ในเมืองปลายทางที่ถูกกว่า และนโยบายสนับสนุนของภาครัฐ

สำหรับไทยเริ่มพบเทรนด์ดังกล่าวบ้างแต่ยังไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นการย้ายกลับภูมิลำเนาของแรงงานที่ใช้ทักษะปานกลางและต่ำ อย่างไรก็ตาม คาดว่าในอนาคตไทยจะเข้าสู่สังคมในบริบทใหม่นี้มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหากพิจารณาความพร้อมด้านต่างๆ ของพื้นที่ในภูมิภาคของไทยในการเป็นเมืองปลายทาง ผ่านโครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้านหลัก

พบว่า ในภูมิภาคนับว่ามีความพร้อมด้านคมนาคมและการสื่อสาร รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ในระดับหนึ่ง ขณะที่ด้านสาธารณสุขและการศึกษายังค่อนข้างมีข้อจำกัด

ดังนั้นการพัฒนาและกระจายการเข้าถึงระบบสาธารณสุข และการยกระดับคุณภาพการศึกษา รวมถึงการพัฒนาทักษะ ฝีมือแรงงานให้ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม จะเป็นกุญแจสำคัญในการสนับสนุนให้ไทยสามารถเกาะไปกับเทรนด์นี้ได้อย่างยั่งยืน และนำไปสู่การกระจายการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำทางโอกาสของประชาชนในภูมิภาค และลดความแออัด รวมทั้งโอกาสเกิดปัญหาทางสังคมจากการกระจุกตัวในเมืองใหญ่