การขยายตัวของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะในด้านของที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นสูงจะขยายตัวออกไปใน 3 ทิศทาง ได้แก่
-ทิศเหนือตามแนวรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีเขียว
-ทิศตะวันออก ตามแนวสายสีเขียวไปทางสมุทรปราการ และตามแนวแอร์พอร์ตลิงค์ รวมถึงสายสีส้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
-ทิศตะวันตก ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ออกไปทางเพชรเกษมและบางแค
การขยายตัวของทั้ง 3 ทิศทางจะเป็นตัวนำการพัฒนาของกรุงเทพมหานครช่วยให้เมือง compact อยู่กับระบบขนส่งมวลชน นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาในระดับรองเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางแทรกอยู่ในบริเวณที่อยู่ระหว่างพื้นที่การให้บริการของระบบขนส่งมวลชน
สำหรับพื้นที่ศูนย์กลางที่สำคัญของกรุงเทพฯ ได้แก่ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ หรือ CBD (Central Business District) ได้แก่ บริเวณสีลมและสาทร
ขณะเดียวกันจะมีศูนย์คมนาคมขนส่งซึ่งมีพาณิชยกรรมระดับเข้มข้นรวมอยู่ด้วย ได้แก่ ศูนย์คมนาคมมักกะสัน ศูนย์คมนาคมพหลโยธินที่จะมีสถานีกลางบางซื่อ และทางฝั่งธนบุรีจะมีศูนย์คมนาคม แถววงเวียนใหญ่
ขณะเดียวกันจะมีการส่งเสริมให้มีศูนย์ชุมชนที่อยู่ชานเมือง ไม่ว่าจะเป็น ลาดกระบัง บางกะปิ มีนบุรีตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพูตัดกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ส่วนด้านบนของกรุงเทพฯจะมีสะพานใหม่ ไปทางตะวันตกมี ตลิ่งชันเพชรเกษม บางแค และบนถนนพระราม 2
ศูนย์ชุมชนชานเมือง เพื่อให้มีการค้าและการบริการกระจายตัวอยู่ในเขตชั้นกลางและเขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานคร ประชาชนบางส่วนสามารถที่จะใช้บริการโดยไม่ต้องเข้ามาในเขตชั้นใน นอกจากนี้ควรจะมีการจ้างงานอยู่ในบริเวณศูนย์ชุมชนต่างๆ โดยอาจจะต้องมีสำนักงานอยู่ในบริเวณชานเมืองบ้างเพื่อให้เกิด jobs-housing balance
ทั้งหมดก็คือ การขยายตัวในทำเลต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร