fbpx
เปิดคฤหาสน์หรูริมทะเลสาบ ()

การยาสูบฯเปิดกรุที่ดิน 6 พันไร่ ลุยพัฒนาอสังหาฯเสริมรายได้

การยาสูบแห่งประเทศไทย เปิดพอร์ตที่ดิน 150 แปลง กว่า 6,000 ไร่ เดินหน้าแปลงทรัพย์สินเป็นรายได้ด้วยการเปิดให้เอกชนเช่าพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นำร่อง 3 แปลงศัยภาพสูงในกทม.-เชียงราย มูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านบาท

นายภูมิจิตต์ พงษ์พันธุ์งาม ผู้ว่าการการยาสูบแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทำให้รายได้ของการยาสูบลดลง แต่สิ่งที่เรามองคือ การนำทรัพย์สินที่มีอยู่ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มศัยภาพมาทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในการสร้างงาน สร้างรายได้ โดยนำมาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นการดำเนินงานในเชิงรุกของการยาสูบฯ โดยได้มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานภายในจากสำนักพัฒนาธุรกิจเป็นสำนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อดูแลเรื่องการนำที่ดินมาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยตรง

นายภูมิจิตต์ พงษ์พันธุ์งาม ผู้ว่าการการยาสูบแห่งประเทศไทย

“การยาสูบฯครอบครองที่ดินศักยภาพในการพัฒนาเชิงธุรกิจหลากหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดศักยภาพของพื้นที่ในเชิงธุรกิจได้ ซึ่งนับเป็นก้าวใหม่ก้าวสำคัญของการยาสูบฯ ที่จะเริ่มต้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากทรัพย์สินที่สั่งสมมาจากรุ่นสู่รุ่น” นายภูมิจิตต์กล่าว

ล่าสุดการยาสูบฯได้ให้บริษัทที่ปรึกษาทำการสำรวจแปลงที่ดินที่มีอยู่รวม 150 แปลงทั่วประเทศ เนื้อที่รวมกว่า 6,000 ไร่ (มูลค่าจากการประเมินเบื้องต้นอยู่ที่ 5,000-10,000 ล้านบาท) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำมาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบต่างๆ โดยได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.ที่ดินที่สามารถนำมาพัฒนาในเชิงพาณิชย์มีสัดส่วนประมาณ 15% 2.ที่ดินที่สามารถนำมาพัฒนาในเชิงอุตสาหกรรมมีสัดส่วนประมาณ 25% 3.ที่ดินสามารถนำมาพัฒนาในด้านเกษตรกรรม มีสัดส่วนประมาณ 60%

ที่ดิน ยาสูบ

“การยาสูบฯจะนำที่ดินที่มีมาศึกษาความเหมาะสมในเชิงพาณิชย์มาเปิดให้เอกชนเช่า เพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ โดยมีระยะเวลาเช่าตั้งแต่ระยะสั้น 3-5 ปี ระยะกลาง 10 ปี และระยะยาว 30 ปี ส่วนที่ดินอุตสาหกรรมก็ต้องมาดูว่าในพื้นที่จะสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมอะไรได้ ขณะที่ที่ดินที่มีพื้นที่ใหญ่สุดคือพื้นที่เกษตรในอดีตเรามีชาวไร่มาเช่าที่ปลูกใบยาสูบ ตอนนี้เรามองไปในเรื่องของคาร์บอนเครดิต การปลูกป่า ซึ่งเรามีพื้นทีที่มีศักภาพในการปลูกพืช เพื่อใช้เป็นคาร์บอนเครดิตได้ ซึ่งจากการประเมินจากที่ดินที่มีอยู่ จะสามารถลดการปล่อยคาร์บอน ได้ 7.7 ล้านกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบกับการปลูกต้นไม้กว่า 8 แสนต้น โดยจะมีหน่วยงานที่เข้ามาเรื่อง BCG” นายภูมิจิตต์กล่าว

สำหรับที่ดิน 3 แปลง รวมมูลค่า 2,476 ล้านบาท ที่จะเป็นต้นแบบในการนำที่ดินของการยาสูบฯมาเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาพัฒนาเพื่อหารายได้ ประกอบด้วย

โครงการที่ 1 แปลงที่ดินโฉนดเลขที่ 4744 และ 5215 อยู่บริเวณซอยท้ายสุขุมวิท 10 ติดกับสวนป่าเบญจกิติฝั่งเหนือ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ พื้นที่โครงการรวม 2 ไร่ 2 งาน 93.1 ตารางวา มูลค่ารวม 756,830,000 บาท จะเปิดประมูลให้เช่าระยะยาว 30 ปี เนื่องด้วยที่ดินเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง โดยจุดเด่นของพื้นที่คือ สามารถเข้าถึงสวนเบญจกิติได้มีบรรยากาศริมน้ำร่มรื้นและใกล้ชิดกับธรรมชาติ สามารถพัฒนาพื้นที่เป็นโรงแรม ที่พักอาศัย ร้านอาหาร

เปิดคฤหาสน์หรูริมทะเลสาบ

โครงการที่ 2 พื้นที่บางส่วนของแปลงที่ดินโฉนดเลขที่ 3505 และ 3507 ของสำนักงานใหญ่ การยาสูบแห่งประเทศไทย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ พื้นที่โครงการรวมกว่า 9 ไร่ มูลค่ารวม 920,730,000 บาท สนับสนุนกิจกรรมด้านกีฬาและสันทนาการ เปิดให้เช่าอายุสัญญา 10 ปี แนวทำงกำรพัฒนำพื้นที่ เพื่อการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมกับนโยบาย ความต้องการคงพื้นที่สีเขียว และแนวทางการพัฒนาพื้นที่ในระยะไม่เกิน 10 ปี จึงกำหนดให้เป็นการพัฒนาศูนย์กีฬาและพื้นที่ให้เช่า ในการสนับสนุนกิจกรรมด้านกีฬาและสันทนาการ โดยไม่มีโครงสร้างหนัก เพื่อรอการพัฒนาระยะยาว

เปิดคฤหาสน์หรูริมทะเลสาบ

โครงการที่ 3 แปลงที่ดินสถานีใบยาเวียงพาน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พื้นที่โครงการรวมกว่า 75 ไร่ มูลค่ารวม 798,060,000 บาท เป็นพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ติดทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ใกล้ด่านชายแดน อยู่ในพื้นที่ตัวเมืองแม่สาย ซึ่งเป็นเมืองการค้าชายแดนที่สำคัญ ด้วยขนาดพื้นที่กว่า 75 ไร่และตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สาย ทำให้ที่ดินนี้มีศักยภาพสามารถรองรับโครงการขนาดใหญ่ เช่น ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ หรือในรูปแบบ mixed used เพื่อรองรับความต้องการที่มาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจชายแดนและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคได้ เปิดให้เช่าอายุสัญญา 30 ปี

เปิดคฤหาสน์หรูริมทะเลสาบ

ทั้งนี้ การยาสูบฯได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) ที่ดินทั้ง 3 โครงการได้รับความสนใจจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายบริษัท เช่น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) บริษัท นันทวัน จำกัด บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) บริษัท เฮอริเทจ เอสเตท จำกัด บริษัท ลิฟเวล ลิฟวิ่ง จำกัด บริษัท ฟิฟธ์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เป็นต้น

นายภูมิจิตต์ กล่าวอีกว่า คาดว่าในระยะเริ่มต้นจะมีรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 100-200 ล้านบาท แม้จะมีรายได้เพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับรายได้หลักของการยาสูบฯ ในปี 2566 กว่า 3 หมื่นล้านบาท แต่สิ่งสำคัญคือการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนที่อยู่โดยรอบแปลงที่ดินที่นำมาเปิดประมูล ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้หน่วยงานรัฐมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียน

นอกจากนี้ การยาสูบฯยังมีที่ดินแปลงอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น ที่ดิน 5 ไร่ แถวถนนเจริญกรุง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดเอเชียทีค ที่เคยเป็นโรงงานผลิตยาสูบแห่งแรก แต่ยังมีข้อจำกัดในการพัฒนาอยู่ และอีกแปลงอยู่ฝั่งตรงข้ามเนื้อที่ 3 ไร่เศษ ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้เป็นโกดังเก็บใบบาสูบ ส่วนต่างจังหวัดมีที่ดินอยู่ในใจกลางเมืองอยู่หลายแปลงในหลายจังหวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานของการยาสูบฯ โกดังเก็บใบยา หรือสถานีบ่มใบยา โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นหัวเมืองหลักๆ เช่น ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง เพชรบูรณ์ แพร่ นครพนม สุโขทัย เพชรบูรณ์ ขอนแก่น เป็นต้น